เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2020 หนังสือพิมพ์เดอะแคนซัสซิตี้สตาร์ (The Kansas City Star) ได้แถลงขอโทษต่อประชาชนชาวเมืองแคนซัส โดยเฉพาะต่อคนผิวดำ ที่ได้สร้างประวัติศาสตร์การเหยียดผิวในรายงานข่าวของเดอะแคนซัสซิตี้สตาร์มาอย่างยาวนาน คำขอโทษระบุถึงการที่เดอะแคนซัสซิตี้สตาร์ได้รายงานข่าวที่เป็นการกระทำซึ่งละเลยและจงใจทำร้ายชาวแอฟริกันอเมริกัน บทบรรณาธิการชิ้นนี้ได้กล่าวขอโทษถึงการสืบทอดการแบ่งแยกสีผิวโดยอ้างกฎหมายจิม โครว์ [i] รวมทั้งการกระทำอื่นๆ ที่ส่งผลต่อการสร้างอคติต่อชาวแอฟริกันอเมริกัน
มีคำน่าสนใจเกี่ยวกับการทำงานของ “สื่อสารมวลชน” ในแวดวงสื่อตะวันตก และยิ่งน่าสนใจเมื่อนำมาเทียบเคียงกับเรื่องราวที่กำลังเกิดขึ้นกับวงการสื่อบ้านเราขณะนี้ นั่นคือคำว่า advocacy journalism
อันที่จริงคำว่า แอดเวอะคะซี (advocacy) ซึ่งเป็นคำนามในภาษาอังกฤษไม่ได้แปลตรงตัวว่า “เลือกข้าง” แต่แปลว่าการสนับสนุนหรือแก้ต่าง หากเมื่อใช้ประกอบกับคำว่า journalism ที่แปลว่า วารสารศาสตร์ หรือ การสื่อสารมวลชน เป็นคำว่า advocacy journalism ก็อาจเรียกเป็นไทยๆ ได้ว่า “สื่อเลือกข้าง” หรือ “เลือกข้างความเชื่อ” ซึ่งบางครั้งอาจเรียกอีกอย่างว่า สื่อทางเลือก (alternative journalist)
มาเรีย เรสซา บรรณาธิการของเวบข่าวแรพเลอร์ของฟิลิปปินส์ ถูกศาลในกรุงมะนิลาตัดสินเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พร้อมกับเพื่อนร่วมงานคือเรย์นาลโด ซานตอส จูเนียร์ ว่ามีความผิดทางไซเบอร์อาจถูกจำคุกได้ถึง 6 ปี นับเป็นคดีที่ได้รับความสนใจจากทั้งในและนอกประเทศ เพราะลักษณะการดำเนินคดีในห้วงเวลาที่มีการเล่นงานสื่อของประธานาธิบดีดูแตร์เต้
ในช่วงครึ่งแรกของปี 2020 องค์กรสื่อวารสารศาสตร์ทั่วโลกเผชิญกับการปะทุของระเบิดเวลาที่ถูกฝังมานาน ทั้งความพยายามประคับประคองธุรกิจที่จวนเจียนจะล้มเพราะรายได้ (ซึ่งส่วนใหญ่มาจากโฆษณา) หดหายอย่างต่อเนื่อง ทั้งก่อนและระหว่างวิกฤตโควิด-19 รวมทั้งวิกฤตเศรษฐกิจที่ตามมา ขณะที่ยังต้องรายงานเกี่ยวกับสถานการณ์ในพื้นที่และการจัดการโรคระบาดด้วยระบบการทำงานแบบทางไกลที่ไม่คล่องตัวนัก เนื่องจากมีบุคลากร เครื่องมือและสถานที่ รวมถึงงบประมาณที่จำกัด ท่ามกลางการแบ่งขั้วและความไม่เท่าเทียมในสังคม การแพร่กระจายของข้อมูลบิดเบือนและข้อมูลผิดพลาด รวมถึงความไว้วางใจจากสาธารณะที่ลดลง
ประธานสมาคมนักข่าวแคนาดาตอบคำถามถึงสิทธิและหน้าที่ของสื่อในการเข้าถึงข้อมูลเพื่อรายงานข่าวเหตุการณ์ฉุกเฉิน
รายงานของผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนว่าด้วยผลกระทบจากการทำข่าวประเด็นผู้หญิง มีเดีย อินไซด์ เอ้าท์ เรียบเรียงมานำเสนอในวาระวันสตรีสากล
มีเดีย อินไซด์ เอ้าท์ ชวนทำความรู้จักสี่นักข่าวผู้ต่อสู้เพื่อเสรีภาพสื่อ
คำแนะนำของคอลัมนิสต์ชาวอเมริกันถึงชาวอเมริกันหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดี "หยุดโลกสวย และยอมลงทุนเพื่อสื่อคุณภาพ"
มีเดีย อินไซด์ เอ้าท์ ชวนมองเสรีภาพสื่อ บทบาทและความสัมพันธ์ของสื่อพม่ากับรัฐบาลพลเรือนชุดแรกในรอบกว่าครึ่งศตวรรษ
รัตนา ซารุมปาเอ็ต อดีตนักศึกษาสถาปัตย์ ผู้ผันตัวสู่ละครเวทีเพื่อส่งเสียงท้าทายเผด็จการและบอกเล่าความทุกข์ยากของประชาชน
เปิดเบื้องหลังข่าว ส่องสถานะนักข่าวหญิง และผู้หญิงในข่าวในสื่อเอเซียแปซิฟิก