มุมวิชาการ
สื่อเลือกทำหน้าที่ “คนกลาง” กรณีเลือกตั้งประธานาธิบดีอินโดนีเซีย 2014: สื่อออนไลน์
สื่อออนไลน์เป็นสื่อที่เกิดหลังสิ่งพิมพ์และโทรทัศน์ในวงการอุตสาหกรรมสื่อของอินโดนีเซีย แต่ก็ได้รับความนิยมและมีบทบาทมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ในระหว่างการหาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดี ปี 2014 สื่อออนไลน์วางตัวแตกต่างจากสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อโทรทัศน์อย่างชัดเจน สื่อออนไลน์เลือกที่จะทำหน้าที่เป็นคนกลางระหว่างผู้สมัครสองฝ่าย (Gurevitch and Blumler 1977) เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือในฐานะสื่อใหม่ ตัวอย่างสื่อออนไลน์ที่เลือกมาศึกษาในงานวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ Detik.com และ Suara.com ทั้งสองมีสำนักงานในกรุงจาการ์ต้า
2021-01-17
มุมวิชาการ
สื่อเลือกข้างกรณีเลือกตั้งประธานาธิบดี 2014: สื่อโทรทัศน์
การศึกษาบทบาททางการเมืองของสื่อกระแสหลักของอินโดนีเซียช่วงการเลือกตั้งประธานาธิบดี ปี 2014 นั้น งานวิจัยได้เลือกสถานีโทรทัศน์ในเครือ Bakrie & Brothers เป็นตัวอย่างในการศึกษา ได้แก่สถานี TVOne และ antv โทรทัศน์ในเครือนี้มี อะบูริซาล บาครี เป็นเจ้าของและผู้บริหาร เขาเป็นประธานพรรคกอลคาร์ระหว่างปี 2009 – 2014 และได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานพรรคอีกครั้งในปี 2015 [1] สถานีโทรทัศน์ทั้งสองแห่งให้การสนับสนุนแก่ปราโบโว สุเบียนโต ผู้สมัครจากพรรค Gerindra Party (เขาเป็
2020-12-21
มุมวิชาการ
หลังยุคซูฮาร์โตที่ครองอำนาจยาวนาน 32 ปี (1967-1998) ประเทศอินโดนีเซียเริ่มกระบวนการปฏิรูปการเมืองอย่างจริงจังระหว่างปี 1999-2002 มีการยกเลิกกฎหมายหนังสือพิมพ์ เปิดให้สื่อมวลชนมีเสรีภาพ ในระยะเปลี่ยนผ่านทางการเมืองสภาเป็นผู้เลือกตั้งประธานาธิบดีระหว่างปี 1999-2004 (วาระ 5 ปี) ต่อมา และตั้งแต่ปี 2004 เป็นต้นมาอินโดนีเซียมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรง ประธานาธิบดีสุซิโล บัมบัง ยุทโธโยโน ได้รับเลือกตั้งจากประชาชน ดำรงตำแหน่ง 2 สมัย ระหว่างปี 2004-2009 และ 2009-2014 การเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 2014 เป็นการเลือกตั้งโดยตรงครั้งที่ 3 มีผู้สมัครรับเลือกตั้ง 2 ฝ่ายต่อสู้แข่งขันกัน ฝ่ายหนึ่งเป็นตั
2020-11-25
นักเรียนสื่อ
สื่อควรรายงานข่าวอย่างไร?
คำถามนี้ คนส่วนใหญ่อาจจะตอบว่า สื่อควรรายงานอย่างเป็นกลาง
ที่ตอบแบบนี้ อาจเป็นเพราะโดนกรอกหูกันอยู่ตลอดว่า สื่อต้องเป็นกลาง สื่อต้องนำเสนอความจริง และสื่อต้องไม่เลือกข้าง
นักเรียนวารสารศาสตร์ก็อาจจะถูกสั่งสอนแบบนี้ในสมัยเรียนปีแรก ๆ เช่นกัน
จนหลายคนคิดกันไปว่า การเป็นกลางคือกฎเหล็ก เป็นจรรยาบรรณสื่อที่ไม่ควรละเมิด
ผมสงสัยเรื่องนี้จึงไปลองค้นข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ พ.ศ. 2559 มี 30 ข้อ ก็ไม่ได้ระบุถึงเรื่องนี้
2020-11-21
ส่องสื่อโลก
มีคำน่าสนใจเกี่ยวกับการทำงานของ “สื่อสารมวลชน” ในแวดวงสื่อตะวันตก และยิ่งน่าสนใจเมื่อนำมาเทียบเคียงกับเรื่องราวที่กำลังเกิดขึ้นกับวงการสื่อบ้านเราขณะนี้ นั่นคือคำว่า advocacy journalism
อันที่จริงคำว่า แอดเวอะคะซี (advocacy) ซึ่งเป็นคำนามในภาษาอังกฤษไม่ได้แปลตรงตัวว่า “เลือกข้าง” แต่แปลว่าการสนับสนุนหรือแก้ต่าง หากเมื่อใช้ประกอบกับคำว่า journalism ที่แปลว่า วารสารศาสตร์ หรือ การสื่อสารมวลชน เป็นคำว่า advocacy journalism ก็อาจเรียกเป็นไทยๆ ได้ว่า “สื่อเลือกข้าง” หรือ “เลือกข้างความเชื่อ” ซึ่งบางครั้งอาจเรียกอีกอย่างว่า สื่อทางเลือก (alternative journalist)
2020-11-19
สีสันสื่อ
เดือดมากกับหนังสือเล่มใหม่ของนักข่าวที่เกรียงไกรสุดในโลกใบนี้ บ็อบ วูดเวิร์ดแห่งวอชิงตัน โพสต์ ถามว่าวูดเวิร์ดเกรียงไกรอย่างไรสำหรับคนข่าว ตอนเขาทำงานได้ไม่ถึง 2 ปี วูดเวิร์ดจับมือกับคาร์ล เบิร์นสตีนทำข่าววอเตอร์เกต จากจุดเริ่มต้นคดีคนบุกติดอุปกรณ์ดักฟังในโรงแรมวอเตอร์เกต ซึ่งเป็นสำนักงานใหญ่ของพรรคเดโมแครต
2020-09-10
จากในสู่นอก
ต้องยอมรับว่าสถานการณ์ของสื่อมวลชนในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปมาก
ในอดีต สื่อเหมือนเป็นฐานันดรที่ 4 ที่มีโอกาสเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ และมีหน้าที่กลั่นกรองข้อมูลเพื่อนำมาเสนอต่อประชาชนอีกทอดหนึ่งโดยไม่ถูกเซนเซอร์ปิดกั้นจากผู้มีอำนาจ
2020-08-23
ส่องสื่อไทย
ช่วงบ่าย เวลาลอนดอนของ 22 พฤษภาคม 2563 ผมได้รับการติดต่อจาก “อาจารย์ย่า” หรือ รศ.ดร.อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ ให้ช่วยเขียนบทความเพื่อเผยแพร่ทางเว็บไซต์ของ Media Inside Out ในหัวข้อ “รำลึกพฤษภา”
โจทย์ที่อาจารย์ให้มาคือ บทบาทของสื่อต่างประเทศในเหตุการณ์พฤษภาคม ไม่ว่าจะเป็น พฤษภา ‘35 หรือ การสลายการชุมนุมคนเสื้อแดงเมื่อ ‘53 หรือ การรัฐประหารโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในปี 2557
ผมตอบรับคำเชิญโดยเลือก 6 ปี คสช. เพราะเป็นเหตุการณ์ที่ผ่านมาไม่นานนักและมีความเกี่ยวข้องกับการกลับมาทำหน้าที่สื่อมวลชนให้คนไทยรอบใหม่ของบีบีซีไทย องค์กรที่ผมนั่งทำงานมาเกือบ 4 ปี
2020-07-14
นักเรียนสื่อ
10 ปี เหตุการณ์ ‘เมษายน-พฤษภาคม 2553’ ปีนี้ เป็นปีที่ฉันกำลังเข้าสู่วัยทำงานออกไปเป็น Journalist
ถ้าจะย้อนกลับไปในเหตุการณ์ ‘สลายการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง’ วันนั้นฉันยังเป็นเด็ก 12 ขวบ เรื่องนี้แทบจะเป็นความทรงจำสีจางๆ ในวัยเด็ก
ขณะนั้น ฉันน่าจะกำลังเรียนมัธยมต้น ใช้ชีวิตเหมือนเด็กชนชั้นกลางทั่วไป วันๆ ก็เอาแต่เรียนตามหนังสือและทำกิจกรรมต่างๆ ที่กระทรวงศึกษาธิการ และโรงเรียนกำหนดไว้ให้
วิถีอื่นนอกเหนือจากวันธรรมดาๆ แบบนั้นก็หมดไปกับการนั่งทำการบ้าน เหลือเวลาเล็กๆ น้อยๆ ก็ใช้ไปกับการเที่ยวเล่น
2020-07-14
จากในสู่นอก
ข่าวการปิดหนังสือพิมพ์คมชัดลึกอายุ 19 ปี เมื่อเดือนเมษายน และบิสซิเนส ทูเดย์ อายุ 6 เดือน เมื่อเดือนมีนาคม ไม่ได้ทำให้ใครในประเทศไทยตื่นเต้นมากไปกว่านักข่าวจำนวนหนึ่งที่จะต้องตกงาน แต่เมื่อเปรียบเทียบแฮซแท็กของประเด็นสำคัญที่หาดูไม่ได้ในสื่อหลัก 1.2 ล้านครั้งในทวิตเตอร์ภายใน 24 ชั่วโมงเมื่อเดือนมีนาคมหรือปฏิกิริยาของผู้ใช้เมื่อรู้ว่า ทวิตเตอร์เปิดบัญชีอย่างเป็นทางการในประเทศไทย (TwitterThailand) เมื่อเดือนพฤษภาคม นั่นก็คงเป็นแถลงการณ์ที่ชัดเจนว่า สื่อกระแสหลักของไทยได้หมดความสำคัญไปแล้ว ในขณะที่ผู้ประกอบการสื่อสารมวลชนและผู้สื่อข่าวทั้งหลายยังคงจะต้องต่อสู้ดิ้นรนอย่างหนักเพื่อความอยู่รอด แล
2020-07-14