“
ขอบคุณภาพจาก www.nbtc.go.th
ประเด็นหลักวิชาชีพกระจายเสียงโทรทัศน์ ที่เสนอขึ้นมาทั้งหมด 7 ข้อ หลักจริยธรรม หลักความเป็นอิสระ หลักสิทธิมนุษยชนหลักความทั่วถึง หลักความหลากหลาย หลักความถูกต้องเที่ยงตรง หลักความไม่ลำเอียง สะท้อนความเป็นวิชาชีพ แต่เท่าที่ฟังมาจากหลายท่าน ปรากฏพบว่า ความจริงในปัจจุบันล้มเหลวหมดเลย หาไม่เจอ ไม่ได้ดำเนินการกัน ชัดเจนมาก ไม่ว่าข้อใดก็ตาม
แน่นนอนสื่อการเมือง เขาไม่คำนึงถึงความหลากหลาย เพราะว่าจะต้องพูด ในมิติของตัวเอง ส่วนหลักสิทธิมนุษยชน ถ้า ดราม่ามาก มีการแยก เธอกับฉัน คนละพวกกัน ก็ไม่เข้าหลักสิทธิมนุษยชน ส่วนหลักความอิสระ นี่ก็เป็น คำถามที่ทุกท่านถามอยู่แล้ว ความไม่ลำเอียงความเที่ยงตรง ก็หายาก ฉะนั้น ตรงนี้จะลองเริ่มต้น ต้องดูว่า การวางกรอบจริยธรรมอย่างนี้ เหมือนเรากำลังพูดถึงอุดมคติ แล้วจะทำอย่างไรให้นักวิชาชีพ ที่ยังถืออุดมคติอันนี้อยู่ทำงานได้ คงต้องมาช่วยกันคิด
อยากเรียนแบ่งเป็น 4ประเด็น
เรื่องแรกปัจจุบันยอมรับไปแล้ว เราเรียกว่า สื่อการเมือง ทาง กสทช. โดย คุณสุภิญญา กลางณรงค์ เรียกว่าสื่อเลือกข้างสำหรับสังคมไทยไม่ได้เป็นของแปลกใหม่ เพียงแต่ไม่ได้เกิดขึ้นในรุ่นเรา แต่เกิดหลัง 2475 คือ จะเลือกข้างระบอบเก่า หรือ จะเลือกข้างระบอบใหม่ หรือจะคงความเป็นวิชาชีพ อยู่ ฉะนั้น อันนี้เหมือนกลับมาอีกครั้ง ในบรรยากาศ การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง แต่ว่ามาในรูปของสื่อที่เป็นเพคเกจใหญ่ มัลติมีเดีย กว่าในอดีต
ในอดีตอาจจะมีสิ่งพิมพ์ วิทยุ แล้วตามมาด้วยโทรทัศน์ แต่ตอนนี้มีอินเตอร์เนตเพิ่มมาด้วย แพลตฟอร์มกว้างขวางขึ้น
คำถามของเราวันนี้คือ สื่อการเมือง จะมีจริยธรรมของสื่อการเมืองได้ยังไง ถ้าเราจะยังไม่สามารถเปลี่ยนผ่าน จากเมื่อ 10 ปีที่แล้ว แล้ว10 ปีข้างหน้า ถ้ายังอยู่สภาพนี้ จริยธรรมของสื่อการเมือง จะร่วมกันมองอย่างไร เป็นปัญหาที่ต้องช่วยกันขบคิด เราคิดว่าสำคัญ ทุกคนมองสื่อตอนนี้ ไม่ใช่แค่การสื่อข่าวสารเท่านั้น แต่เป็นตัวระดมผู้สนับสนุนทางการเมือง ระดมเสียงทางการเมือง พูดชัดๆ ก็ไปผูกพัน กับขบวนการทางการเมือง ของสถาบันการเมืองใหญ่ รัฐสภา พรรคการเมือง กลุ่มการเมือง
ทุกๆ ฝ่ายก็อยากจะมีกลไกที่จะใช้ระดมเสียงทางการเมือง ในอดีตอาจจะมีการแยกกันว่า สื่อของพรรคการเมือง ก็เป็นสื่อของพรรคไปเลย แต่ขณะนี้ เราใช้สื่อสาธารณะเป็นสื่อการเมือง ฉะนั้น เราจะมีคำถามว่า สื่อเป็นสินค้าสาธารณะ สื่อเป็นสินค้าการเมือง สื่อเป็นสินค้าธุรกิจ 3 ส่วนนี้ บาลานซ์ยังไง เหมือนที่วันนี้ ที่จัดงาน ไตรภาคี เราจะบาลานซ์ไตรภาคีตรงนี้ยังไงดี เรากำลังเอียงไปทางการเมืองมากหรือเปล่า เพราะวันนี้ ภาพของเราจะเป็นอย่างนั้นบนเวทีการประชุมวันนี้
ถ้ามีการเชิญฝ่ายสื่อธุรกิจมา อาจจะพบว่า สื่อตรงนั้น ผลิตสินค้าธุรกิจ แสวงหากำไรสูงสุด แล้วสื่อที่เป็นสินค้าสาธารณะเพื่อประโยชน์ของสังคมประชาธิปไตย อยู่ตรงไหน ยังหลงเหลืออยู่ไหม ในสมัยอดีต ก็คงถูกจับเข้าคุกไปหมด แต่นักวิชาชีพที่แท้จริงยังไม่ย่อท้อ เรามองว่า ยังมีเหลืออยู่
ประเด็นที่ 2 ผู้บริโภค เสพติดสื่อการเมือง ความที่มีสัก 10 กว่าปีมาแล้ว ไม่ว่าจะสื่อเล็ก สื่อใหญ่ ตอนนี้มีสื่อดาวเทียมขึ้นมา ยิ่งเสพติดง่ายเข้าไปอีก มีคนบอกว่าถ้าพูดอะไรไม่ถูกหู แฟนคลับ ก็จะไม่ยอม ฉะนั้นสื่อต้องพยายามพูดให้ถูกหู เสพติดก็คือ ความเข้มข้นของการเร้าอารมณ์ ความเข้มข้นของการเข้าไปสู่แนวทางการโฆษณาชวนเชื่อก็สูงขึ้นด้วย ซึ่งก็นักวิชาการวิเคราะห์ว่า โมเดลนี้ใช้ได้ผล และมีพลังพอที่จะ ทำให้คนเสพย์ติดเชื่อและมองด้านเดียว มีแนวโน้มทั้งคนรับคนทำ
ประเด็นที่ 3 กับประเด็นที่ 4 ขอแยกระหว่าง ผู้ประกอบการ กับนักวิชาชีพ
ผู้ประกอบการสื่อ กับนักวิชาชีพสื่อ เป็นคนละส่วนกัน จริยธรรมของเขาเป็นคนละจริยธรรมแน่นอน ถ้าหากเราบอกว่า กลุ่มที่เราคุยวันนี้ เป็นผู้ประกอบการสื่อการเมือง จริยธรรมของผู้ประกอบการสื่อการเมืองอยู่ตรงไหนในการแสวงหา เสียงสนับสนุนทางการเมือง จะไปสิ้นสุดแค่ไหน จะปลุกเร้าไปจนถึงดุเดือดรุนแรงแค่ไหน หรือจะมีกติกาแบบกีฬา แฟร์ๆ มีวิธีเล่น วิธีฝึกฝนวิธีลงสนามคู่กัน วิธีตัดสินแพ้-ชนะ สื่ออยู่ในซีกการแข่งขันทั้งการเมืองและธุรกิจ ถ้าทุกค่ายทุกสี แข่งขันกันอยู่ กติกา ตรงนั้น เป็นยังไง ในฐานะผู้ประกอบการ จะมีตรงไหน ไม่ให้ถึงกับลุกมาตีกัน เราต้องมีกติกาชัดเจน คือความเป็นมืออาชีพของนักเล่น เช่นเดียวกัน ผู้ประกอบวิชาชีพตรงนี้ เป็นผู้ประกอบการ ท่านจะวางกติกาอย่างไร เพราะผู้ประกอบการมีอำนาจเหนือนักวิชาชีพ ฉะนั้น อยากเรียกร้องให้วันนี้เราลองคุยกัน ที่เราเสนอบนกระดาน จะเป็นเรื่องนักวิชาชีพ แต่เรายังมองข้ามกลุ่มที่มีอำนาจเหนืออยู่ และจะเป็นคนบอกว่า อย่างนี้ได้ อย่างนี้ไม่ได้ตลอดเวลา แล้วนักวิชาชีพ ที่ยึดความเป็นวิชาชีพ ก็จะตกกระป๋องไป หายหน้าไป
ถ้าผู้ประกอบการอยากได้ Propaganda model อยากได้เชิงการเมือง แล้วนักวิชาชีพจะยืนยังไง ความเป็นมืออาชีพ จะยืนยังไง เป็นแบบไหน จะ Balance อำนาจกลุ่มผู้ปฏิบัติในองค์กร กับผู้ที่เป็นเจ้าของหรือฝ่ายบริหาร ตรงนี้ต้องมีกติกาภายในองค์กรให้สู้กันอย่างแฟร์ ๆ ระหว่างอำนาจผู้บริหารที่กุมเนื้อหา กับอำนาจของฝ่ายวิชาชีพ ที่ทำหน้าที่ปฏิบัติทุกวัน ถ้าตรงนี้ไม่มีกติกา งานที่ออกมาก็เป็น Propaganda model ทุกวี่ทุกวัน แล้วจริยธรรมของนักวิชาชีพ ก็จะถูกคอรัป (Corrupt) ต่อไปเราจะเหลือคนที่เป็นนักวิชาชีพจริงๆ น้อยลงเรื่อยๆ เพราะไม่มีแรงสู้ ยอมเสียดีกว่า มันจะไปอย่างนี้เรื่อยๆ แล้วสังคมจะมีปัญหาว่าเราจะ ไม่เหลือ คนที่ยืนพูดอะไรเที่ยงตรง พูดความจริง แทนความคิดที่หลากหลาย เราจะมีแต่สื่อการเมือง ที่ตีกรอบเรื่องให้เข้ากับเรื่องของตัวเอง แนวคิดของตัวเองไปเรื่อยๆ
สุดท้าย เรื่องจริยธรรม ที่หลายท่านบอกว่า ต้องคุมตัวเอง หรือจะคุมแบบไตรภาคี หรือจะมีวิธีการใหม่ๆ ที่จะมาพูดกัน หรือในองค์กรจะสามารถถ่วงดุลอำนาจระหว่างห้องข่าว กับผู้บริหาร กับเจ้าของ พรรคการเมืองที่มี สื่อของตัวเอง สีของตัวเอง ที่เป็นสีของสถานี หรือเราจะแจ้งชัดๆ ไปเลย ที่จริงจะว่าไปแล้วผู้บริโภคก็รู้ แต่อาจจะมีแฟนคลับใหม่ๆ เกิดขึ้น ถ้าวันไหนใครบริโภคสถานีก็เตือน เชียร์ฝ่ายไหน พรรคไหน ถ้าดูอีกช่องก็เป็นอีกอัน ผู้บริโภคก็สามารถถ่วงดุลด้วยตัวเองได้มากขึ้น “
