หมายเหตุ ประเด็นนำเสนอจาก power point ในงานเปิดตัว Media Inside Out Group 14 กรกฎาคม 2555
ที่มาของโครงการ
- ปี 2548 -รศ.ดร.วิลาสินี พิพิธกุล ทำการศึกษาวิจัย เรื่อง การปฏิรูปสื่อ : การสร้างสารสนเทศที่มีคุณภาพและการตรวจสอบโดยสังคม
- ผลการศึกษาเชิงเปรียบเทียบพบว่า
ในต่างประเทศ
- บางประเทศมีองค์กรตรวจสอบสื่อที่มีการจัดโครงสร้างองค์กร อย่างเป็นระบบ มีคณะทำงานประจำ
- มีการเชื่อมโยงงานกับกลุ่มสังคมอื่นๆ รวมทั้งภาครัฐและเอกชน
- มีช่องทางให้ผู้บริโภคสื่อได้มีส่วนร่วม และมีหลักสูตรการรู้เท่าทันสื่อ ฯลฯ
ในประเทศ ในขณะที่การตรวจสอบสื่อของไทย พบว่า
- ไม่มีรูปแบบที่ชัดเจน ที่พบเป็นเพียงกิจกรรมหนึ่งขององค์กรพัฒนาเอกชน
- จำกัดอยู่แค่การตรวจสอบสื่อสิ่งพิมพ์ และเป็นการตรวจสอบแบบเชิงรับ
- ยังไม่เปิดโอกาสให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมมากนัก
- ยังไม่สามารถสร้างเครือข่ายทางสังคมได้เท่าที่ควร
ข้อเสนอ งานวิจัยนี้ได้เสนอให้
- มีองค์กรตรวจสอบสื่อภาคประชาสังคม(civil society) ที่ไม่ใช่องค์กรพัฒนาเอกชน
- มีคณะทำงานจากหลากหลายสาขา เพื่อทำหน้าที่ ตรวจสอบสื่อหลากหลายประเภท โดยเฉพาะอินเตอร์เน็ต และสื่อบันเทิง
- มีมาตราการรักษาความโปร่งใส สร้างความน่าเชื่อถือ
- มีช่องทางการเผยแพร่ที่หลากหลาย
- มีการดำเนินการเชิงรุก เช่น การให้ความรู้ การสร้างจิตสำนึกแก่ผู้บริโภค
- ใช้ประโยชน์จากสื่ออินเตอร์เน้ตในการเปิดพื้นที่สาธารณะและการระดมพลัง และสร้างเครือข่ายกับกลุ่มอื่นๆ อย่างกว้างขวาง
โครงการศึกษาและเฝ้าระวังสื่อเพื่อสุขภาวะของสังคม
ช่วง 3 ปีแรกของโครงการ (2548-2551)
- “โครงการศึกษาและเฝ้าระวังสื่อเพื่อสุขภาวะของสังคม”ดำเนินการภายใต้แผนงานนโยบายสาธารณะเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ งบประมาณจากกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
- จุดมุ่งหมาย
- เพื่อศึกษาวิเคราะห์เนื้อหาที่สื่อโดยเฉพาะฟรีทีวีในประเด็นที่สำคัญ น่าสนใจ ด้วยวิธีวิทยาที่น่าเชื่อถือ
- เพื่อรายงานสังคม อย่างมุ่งหวังกระตุ้นการพัฒนาคุณภาพ มาตรฐานงานรายการ/เนื้อหาสื่อ
- เพื่อให้ผู้รับสื่อสนใจในการศึกษาวิเคราะห์เนื้อหาสื่อ
- ผลงานการศึกษาวิเคราะห์ที่ได้รับความสนใจจากสื่อและสังคม เช่น
- รายการโทรทัศน์สำหรับเด็ก
- ฟรีทีวีกับกรณีการชุมนุมของประชาชน
- โทรทัศน์ไทยมองผู้ชมเป็น”ผู้บริโภค”หรือ”พลเมือง”
- รายการเพื่อประโยชน์สาธารณะในฟรีทีวี
- สื่อโทรทัศน์กับการรายงานข่าวการเลือกตั้ง ‘50
- อคติและภาพตัวแทนในละครซิทคอม
- ฯลฯ
ช่วง 2 ปีต่อมาของโครงการ (2551-2553)
- ดำเนินการภายใต้ “โครงการศึกษาเฝ้าระวังสื่อและพัฒนาการรู้เท่าทันสื่อเพื่อสุขภาวะของสังคม” ด้วยการสนับสนุนจากกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
- จุดมุ่งหมาย - ดำเนินการศึกษาวิเคราะห์เนื้อหาสื่อ และ กิจกรรมให้ความรู้เรื่องวิธีวิทยาการศึกษาวิเคราะห์เนื้อหาสื่อ
- ผลงานการศึกษาวิเคราะห์ที่ได้รับความสนใจจากสื่อและสังคม เช่น
- ฟรีทีวีกับการรายงานข่าวการชุมนุมทางการเมือง
- ปรากฎการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองในสังคมออนไลน์
- โฆษณาแฝงและตรงในฟรีทีวี
- บทบาทสื่อมวลชนในการปฏิรูปประเทศไทย
- ฯลฯ
ปีที่ 6 ของโครงการ (2554)
- 5 ปีแรก “เฝ้าระวังสื่อ เพราะสื่อเฝ้าระวังสังคม”
- ปีที่ 6 ออกแบบงานโครงการให้สอดคล้องกับการปฏิรูปสื่อและสังคม “โครงการเสริมสร้างสื่อมวลชนศึกษาเพื่อสุขภาวะ (Media Monitor)” ดำเนินการศึกษาเฝ้าระวังสื่อเพื่อการปฏิรูปสื่อทั้งกระบวนการให้เสริมสร้างการปฏิรูปสังคม
- ปี 2554 จึงควรเป็นปีเริ่มต้นของการดำเนินการงานโครงการเพื่อให้การปฏิรูปสื่อกระจายเสียงและแพร่ภาพ ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
ภาพหน้าเว็บไซด์โครงการ
“โครงการเสริมสร้างสื่อมวลชนศึกษาเพื่อสุขภาวะ (Media Monitor)”
มีการทำงาน 3 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 การศึกษาวิเคราะห์เนื้อหา อย่างเชื่อมโยงกับบทบาทหน้าที่สื่อมวลชน และผลของสื่อต่อสังคม
ส่วนที่ 2 การศึกษาวิเคราะห์กฎหมายสื่อ โครงสร้างความเป็นเจ้าของและระบบสื่อสารมวลชน
ส่วนที่ 3 การศึกษาวิเคราะห์เนื้อหาสื่อ อย่างสะท้อนให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตสื่อ เนื้อหาสื่อและผู้รับสื่อที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย
รูปธรรมของงานแต่ละส่วน
ส่วนที่ 1
การศึกษาวิเคราะห์เนื้อหา อย่างเชื่อมโยงกับบทบาทหน้าที่สื่อมวลชน และผลของสื่อต่อสังคม
“การนำเสนอข่าวและเนื้อหาการเลือกตั้งของฟรีทีวี ‘54”
“ภาพวัยรุ่นในสื่อยอดนิยม”
“การศึกษาเปรียบเทียบผังรายการฟรีทีวีในไตรมาส 1 และ 3 ของปี 2554”
“ความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่สะท้อนผ่านฟรีทีวี ในช่วงวิกฤติน้ำท่วม”
การศึกษาวิเคราะห์รายการโทรทัศน์ดาวเทียม
-เนื้อหาไสยศาสตร์ โหราศาสตร์
-เนื้อหาสุขภาพและความงาม
-ประเด็นเพศในทีวีดาวเทียม
ส่วนที่ 2
การศึกษาวิเคราะห์กฎหมายสื่อ โครงสร้างความเป็นเจ้าของและระบบสื่อสารมวลชน
“สภาพปัญหากิจการวิทยุ กิจการโทรทัศน์ กิจการโทรคมนาคมกับภารกิจของกสทช.”
“คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของสื่อโทรทัศน์เพื่อบริการสาธารณะ”
ส่วนที่ 3
การศึกษาวิเคราะห์เนื้อหาสื่อ อย่างสะท้อนให้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตสื่อ สื่อและผู้รับสื่อที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย
“การศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการรับสื่อของวัยรุ่นต่างกลุ่ม”
มูลนิธิสื่อมวลชนศึกษา
จุดมุ่งหมายของมูลนิธิและโครงการ
- ศึกษาวิเคราะห์โครงสร้าง ระบบ และเนื้อหาที่สื่อมวลชนนำเสนอ
- รายงานผลการศึกษาต่อสาธารณะและหน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง
- เสริมสร้างและสนับสนุนให้สื่อมวลชนทำหน้าที่ด้วยจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพที่มีมาตรฐาน ด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม
- กระตุ้นผู้รับสื่อและสังคมให้ตื่นตัว สนใจ ในการศึกษาวิเคราะห์เนื้อหาที่สื่อมวลชนนำเสนอ
- พัฒนาศักยภาพแห่งความรู้ความเข้าใจสื่อ (Media Literacy) ด้วยผลการศึกษาและการจัดกิจกรรมกับภาคียุทธศาสตร์กลุ่มต่างๆ
- พัฒนาข้อเสนอต่อแนวทางการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชน (Code of Conduct)
- ส่งเสริม สนับสนุนให้สังคมมีกลไกที่เข้มแข็งและยั่งยืน เพื่อทำหน้าที่ศึกษาวิเคราะห์ติดตามเฝ้าระวังการทำงานและการนำเสนอเนื้อหาของสื่อมวลชน
- คุ้มครองผู้บริโภคด้านสื่อมวลชน
- สร้างสมดุลแห่งความสัมพันธ์อย่างมีคุณภาพและเหมาะสมระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องกับการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนทุกฝ่าย คือ ภาครัฐ ภาควิชาการ ภาควิชาชีพ สื่อมวลชน ภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้อง และภาคสังคมในนามผู้รับสื่อ
- ดำเนินการและให้ความร่วมมือในกิจกรรมเพื่อสาธารณะประโยชน์
- ไม่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับการเมือง
สรุปบทเรียนการทำงานโครงการ
- ผลงานโครงการเป็นที่รู้จักและยอมรับจากสังคม โดยเฉพาะวงการวิชาชีพและวิชาการด้านสื่อ
- มีการสื่อสารผลการศึกษาและข้อเสนอแนะผ่านสื่อมวลชน สื่อของโครงการ และการสื่อสารตรงกับหน่วยงาน / องค์กรที่เกี่ยวข้อง
- มีการร่วมงานกับองค์กรสื่อในกิจกรรมการเรียนรู้ และ งานการศึกษาวิเคราะห์สื่อ
- มีการร่วมงานกับสถาบันการศึกษาในกิจกรรมการเรียนรู้ การพัฒนาหลักสูตร การเรียนการสอน
- มีการขอรับการบริการข้อมูลเพื่อใช้ในการศึกษาวิจัยของผู้ศึกษาระดับอุดมศึกษา
- ในช่วงแรกของโครงการมีพื้นที่ในสื่อที่มีการนำเสนอเนื้อหามากกว่าในปีปัจจุบัน
- อาจเพราะการปรับเปลี่ยนบทบาทจากการเป็นผู้สร้างวาระในสื่อเป็นผู้ตอบสนองต่อประเด็นหรือวาระที่สื่อกำหนด ในเชิงการนำเสนอความเห็นที่มิใช่ผลการศึกษาเสมอไป
- มีความคิดเห็นต่อกระบวนวิธีวิทยา เมื่อทำงานที่เกี่ยวข้องประเด็นที่เป็นความขัดแย้งของกลุ่มทางการเมือง กลุ่มธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- ไม่พบผลในเชิงการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานในงานเนื้อหาสื่อ
- สื่อมักไม่นำเสนอผลการศึกษา โดยเฉพาะ ในประเด็นที่ไม่อยู่ในความสนใจ และ
การมีข้อเสนอต่อการทำงานของสื่อ
- โครงสร้างการทำงานยังเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสนับสนุนทิศทางและ
กระบวนการทำงานของโครงการ
- มีปัญหาในการสรรหา และ การพัฒนาบุคลากรให้มีคุณสมบัติตามลักษณะงาน
โครงการและความคาดหวังต่อโครงการ
- คงการทำงานด้วยจุดมุ่งหมาย โครงสร้าง และ วิธีการ
- พัฒนาภาคีการทำงาน ให้มีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนกระบวนการทำงาน คือ ริเริ่ม พัฒนา ดำเนินการศึกษาวิเคราะห์ จัดทำรายงาน ขยายผลการศึกษา
แผนการทำงานกับภาคี เช่น
- กับ FES ในประเด็น “ฟรีทีวีกับการทำหน้าที่ Civic Education”
- กับ ส.ค.ส. ในประเด็น “การพัฒนาเครื่องมือและการตรวจสอบระดับความรุนแรงทางเพศ ที่ปรากฎในสื่อมวลชน”
- กับ คณะกรรมการขับเคลื่อนการจัดการปัญหาโฆษณา ยา อาหาร ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมาย.เพื่อ “พัฒนาเครื่องมือการตรวจสอบสื่อ ควบคู่กับการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัคร เฝ้าระวังการโฆษณา ยา อาหาร และผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ผิดกฎหมายทางสื่อ”
- กับ นักวิชาการสื่อสารมวลชน “ เพื่อศึกษา การทำหน้าที่ของสื่อในสถานการณ์และเหตุการณ์ภับพิบัติ “
- ฯลฯ
การทำงานในช่วง พ.ค. ปีนี้ถึงวันนี้
- SMS กับ การแข่งขันบอลยูโร
- ทีวีการเมือง ในสถานการณ์ความขัดแย้ง กรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550
ภาพอนาคตที่ปรารถนาของสื่อ-สังคม-การเฝ้าระวังสื่อ
ดร.เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการส่องสื่อไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโครงการมีเดียมอนิเตอร์
เวที สนทนาประสาคนส่องสื่อ
●วิษณุ ตรี ฮังโกโร, Institute for the Studies of Press Information, Samarang(สื่ออินโดนีเซีย)
●กายาทรี เวนกิทสวารัน, Southeast Asian Press Alliance (สื่อมาเลเซีย)
●ดร.เอื้อจิต วิโรจน์ไตรรัตน์, ผู้อำนวยการโครงการมีเดียมอนิเตอร์
ชวนสนทนาโดย รศ.ดร.อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์
14 กรกฎาคม 2555 งานเปิดตัวกลุ่ม มีเดีย อินไซด์ เอ้าท์
"Media Monitors in Indonesia, Malaysia and Thailand" Forum
- Wisnu T Hanggoro Institute for the Studies on Press Information (Media in Indonesia)
- GayathryVenkiteswaran Southeast Asian Press Alliance (Media in Malaysia)
- Dr. UajitVirojtrairatt Foundation for Media Literacy ( Media in Thailand)
Moderated by Ass.Prof.UbonratSiriyuvasak
At the launch of MEDIA INSIDE OUT Group on 14 July 2012 in Bangkok
