ก่อนการรัฐประหารวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2021 Mizzima นับเป็นสำนักข่าวเอกชนที่อยู่ในอันดับสูงสุด 1 ใน 5 ของพม่า ที่เข้าถึงประชาชนกว่า 20 ล้านคนทั้งภายในและภายนอกประเทศพม่าโดยผ่านช่องทางมัลติมีเดีย
การวิจารณ์ (criticism) เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่เราใช้เพื่อแสดงความเห็นของเราต่อบุคคลหรือเรื่องต่าง ๆ และแม้การวิจารณ์จะมีหลายประเภท คนส่วนใหญ่ก็มักแบ่งกว้าง ๆ เป็นการวิจารณ์เชิงสร้างสรรค์ซึ่งให้ข้อเสนอแนะที่มีประโยชน์ต่อผู้ถูกวิจารณ์ (constructive criticism) กับการวิจารณ์เชิงทำลาย (destructive criticism) ซึ่งมุ่งทำลาย “เป้าหมาย” ของการวิจารณ์
ต้องยอมรับว่าสถานการณ์ของสื่อมวลชนในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปมาก
ในอดีต สื่อเหมือนเป็นฐานันดรที่ 4 ที่มีโอกาสเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ และมีหน้าที่กลั่นกรองข้อมูลเพื่อนำมาเสนอต่อประชาชนอีกทอดหนึ่งโดยไม่ถูกเซนเซอร์ปิดกั้นจากผู้มีอำนาจ
ผมไม่ได้เป็นสื่อจากคนจบสื่อสารมวลชน แต่เรียนรัฐศาสตร์ และเป็นนักเคลื่อนไหวพร้อมกับทำงานประจำ ผมเห็นการแบ่งของสื่อตั้งแต่การเมืองไทยปี 2548 และเริ่มต้นวิกฤตการเมืองไทยหลังการรัฐประหารปี 2549 เห็นการแบ่งข้างผ่านสื่อที่เสพอย่างสื่อสิ่งพิมพ์ ที่ผมอ่านตอนนั้นคือ เนชั่น และ มติชน
สงสัยว่าพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีอาจจะจำเป็นต้องหาที่ปรึกษาทางด้านยุทธศาสตร์การสื่อสารเสียใหม่ เพราะความคิดในการเดินสายพบปะบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ใหญ่เมื่อต้นเดือนกรกฎาคม 2563 เป็นสิ่งที่บอกให้โลกรู้ว่า นักการเมืองอดีตนายทหารคนนี้ตกยุคไปถึง 20 ปีเลยทีเดียว นักหนังสือพิมพ์ที่พลเอกประยุทธ์พบปะเพื่อกระชับมิตรและให้ช่วยโฆษณาผลงานรัฐบาลนั้น ไม่ใช่ผู้นำทางความคิดในสังคมไทยอีกต่อไปและในความเป็นจริงพวกเขาจำนวนหนึ่งก็ทำตัวเป็นหางเครื่องให้รัฐบาลของชนชั้นนำชุดนี้มาตั้งนานแล้วแต่คะแนนนิยมของประยุทธ์ก็ตกต่ำตลอดซึ่งก็พอๆกับความน่าเชื่อถือของสื่อกระแสหลักที่ตกต่ำลงมากเช่นกัน
ข่าวการปิดหนังสือพิมพ์คมชัดลึกอายุ 19 ปี เมื่อเดือนเมษายน และบิสซิเนส ทูเดย์ อายุ 6 เดือน เมื่อเดือนมีนาคม ไม่ได้ทำให้ใครในประเทศไทยตื่นเต้นมากไปกว่านักข่าวจำนวนหนึ่งที่จะต้องตกงาน แต่เมื่อเปรียบเทียบแฮซแท็กของประเด็นสำคัญที่หาดูไม่ได้ในสื่อหลัก 1.2 ล้านครั้งในทวิตเตอร์ภายใน 24 ชั่วโมงเมื่อเดือนมีนาคมหรือปฏิกิริยาของผู้ใช้เมื่อรู้ว่า ทวิตเตอร์เปิดบัญชีอย่างเป็นทางการในประเทศไทย (TwitterThailand) เมื่อเดือนพฤษภาคม นั่นก็คงเป็นแถลงการณ์ที่ชัดเจนว่า สื่อกระแสหลักของไทยได้หมดความสำคัญไปแล้ว ในขณะที่ผู้ประกอบการสื่อสารมวลชนและผู้สื่อข่าวทั้งหลายยังคงจะต้องต่อสู้ดิ้นรนอย่างหนักเพื่อความอยู่รอด แล