สื่อควรรายงานข่าวอย่างไร?
คำถามนี้ คนส่วนใหญ่อาจจะตอบว่า สื่อควรรายงานอย่างเป็นกลาง
ที่ตอบแบบนี้ อาจเป็นเพราะโดนกรอกหูกันอยู่ตลอดว่า สื่อต้องเป็นกลาง สื่อต้องนำเสนอความจริง และสื่อต้องไม่เลือกข้าง
นักเรียนวารสารศาสตร์ก็อาจจะถูกสั่งสอนแบบนี้ในสมัยเรียนปีแรก ๆ เช่นกัน
จนหลายคนคิดกันไปว่า การเป็นกลางคือกฎเหล็ก เป็นจรรยาบรรณสื่อที่ไม่ควรละเมิด
ผมสงสัยเรื่องนี้จึงไปลองค้นข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ พ.ศ. 2559 มี 30 ข้อ ก็ไม่ได้ระบุถึงเรื่องนี้
นักเรียนสื่อ
"ดิฉันเห็นว่าสิ่งสำคัญที่สุดในการคลี่คลายคดีอาชญากรรมโดยเจ้าหน้าที่รัฐ รัฐบาลจำเป็นต้องให้ความสำคัญ รัฐบาลต้องมีเจตจำนงทางการเมือง (Political Will) ต้องมีเจตนาที่แน่วแน่มั่นคงในการที่จะไม่ปกป้องผู้กระทำผิด"
ข้อความตอนหนึ่งจาก "#14ปีสมชาย จดหมายจากครอบครัวนีละไพจิตร"
2020-08-27
10 กว่าปีที่แล้ว ถ้ามีคนมาถามว่า “คิดอย่างไรกับการเมืองไทย”
ภาพที่ชัดขึ้นมาในความคิดของฉันในตอนนั้นเป็นภาพผู้คนออกมาชุมนุม ใส่เสื้อ 2 สีที่แตกต่างกัน คือสีเหลือง กับสีแดง
เด็ก 10 ขวบ อย่างฉันจำความได้ว่า มีการชุมนุมบ่อยมาก
เสื้อสีเหลืองไปสนามบินสุวรรณภูมิ ไปประท้วงที่สถานีโทรทัศน์ ไปยึดทำเนียบรัฐบาล
ส่วนเสื้อสีแดงชุมนุมปักหลักที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และแยกราชประสงค์
แต่เรื่องราวที่ได้รับการบอกเล่าจากสื่อแล้วจำได้ชัดเจนสุดคือ ความโกลาหล การปะทะกันระหว่างประชาชนกับทหาร
2020-07-14
10 ปี เหตุการณ์ ‘เมษายน-พฤษภาคม 2553’ ปีนี้ เป็นปีที่ฉันกำลังเข้าสู่วัยทำงานออกไปเป็น Journalist
ถ้าจะย้อนกลับไปในเหตุการณ์ ‘สลายการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง’ วันนั้นฉันยังเป็นเด็ก 12 ขวบ เรื่องนี้แทบจะเป็นความทรงจำสีจางๆ ในวัยเด็ก
ขณะนั้น ฉันน่าจะกำลังเรียนมัธยมต้น ใช้ชีวิตเหมือนเด็กชนชั้นกลางทั่วไป วันๆ ก็เอาแต่เรียนตามหนังสือและทำกิจกรรมต่างๆ ที่กระทรวงศึกษาธิการ และโรงเรียนกำหนดไว้ให้
วิถีอื่นนอกเหนือจากวันธรรมดาๆ แบบนั้นก็หมดไปกับการนั่งทำการบ้าน เหลือเวลาเล็กๆ น้อยๆ ก็ใช้ไปกับการเที่ยวเล่น
2020-07-14