ดร. ลลิตา หาญวงษ์
นักวิชาการด้านพม่าศึกษา และคอลัมนิสต์ “ไทยพบพม่า”
จริงๆ เวลาเราพูดถึงนักศึกษายุค 1988 นะคะ เราก็ต้องบอกว่าในเวลานี้คนที่เคยต่อสู้กันมาช่วงปลายทศวรรษ 80 น่ะ เขาก็อายุห้าสิบกว่าไปหมดแล้ว
Photo courtesy elepig2
คือสำหรับมหาวิทยาลัยในพม่า เขาจะถูก disrupt โดยกองทัพและการเมืองของพม่ามาทุกยุคทุกสมัยนะคะ คือตั้งแต่ยุคเนวินลงมาจมาถึงปี 88 เนี่ย จริงๆ บทบาทของนิสิตนักศึกษาก็ถูกจำกัดบทบาทไปมากพอสมควรแล้ว แต่มันก็ยังมีตัวมหาวิทยาลัย แล้วก็ยังมีจิตวิญญาณของความเป็นนักศึกษา ซึ่งเขาก็ไม่ได้สู้ครั้งแรกในปี 1988 คือเขาสู้มาตั้งแต่ยุคอังกฤษปกครองเขาเป็นอาณานิคมแล้ว เขาเคยต่อสู้ช่วงที่เนวินขึ้นมาใหม่ๆ ปี 1962 เขาเคยต่อสู้เพื่อแย่งโลงศพของอูถั่นในทศวรรษ 70 อะไรแบบนี้มาก่อน ดังนั้นบทบาทของนักศึกษาพม่า มันจึงเป็นบทบาทที่ไม่ใช่เรื่องของกายภาพเพียงอย่างเดียวว่า นักศึกษามีบทบาทนะ นักศึกษาเคยไปประท้วงที่โน่นที่นี่ แต่มันเป็นเรื่องของจิตวิญญาณ เป็นเรื่องของการเป็นนักศึกษาในมหาวิทยาลัยย่างกุ้ง ยกตัวอย่างนะคะ มหาวิทยาลัยย่างกุ้งไม่ได้มีสถานะเป็นสถาบันทางการศึกษาเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีบทบาทเป็นสถาบันทางการเมืองประเภทหนึ่งที่บ่มเพาะ civil society แล้วนักศึกษาที่มีจิตใจฝักใฝ่ทางด้านการเมืองมาโดยตลอด ดังนั้นมหาวิทยาลัยถึงเป็นไม้เบื่อไม้เมากับองค์รัฐของพม่ามาตลอด ยุคของอูนุก็เป็น ยุคของเนวินนี่ชัดเจนแน่นอน ยุคของสล็อร์ค (SLORC – State Law and Order Restoration Council) เอสพีดีซี (SPDC – State Peace and Development Council) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหลังๆ ช่วงสล์อร์ค เอสพีดีซีนี่ ก็มีการปิดมหาวิทยาลัย คือแทนที่นักศึกษาสามารถไปเรียนในมหาวิทยาลัยได้ การปิดมหาวิทยาลัยหมายความว่าอาจจะไม่ได้มีแบบการเรียนการสอนในเวลา แต่ส่วนหนึ่งก็คือคล้ายๆ กับไปแอบเรียนกันช่วงภาคค่ำ อะไรแบบนี้มากกว่า จนกระทั่งในยุคของการปฏิรูปเพื่อประชาธิปไตยจริงๆ ตั้งแต่ยุคของเต็งเส่งเป็นต้นมานี่ มหาวิทยาลัยจึงมีบทบาทมากขึ้น แล้วก็กลับมาเปิดเป็นเหมือนสถาบันทางด้านการศึกษาจริงจังอีกครั้งหนึ่งนะคะ
ดร.ลลิตา หาญวงษ์
คือดิฉันคิดว่าการปิดมหาวิทยาลัยเนี่ย แล้วก็การปิดกั้นเสรีภาพของนักศึกษา จริงๆ Student Union ของมหาวิทยาลัยย่างกุ้งที่ดังๆ เนี่ย ที่ทำการตึกของเขามันถูกเนวินสั่งบอม ไม่ได้สั่งรื้อนะคะ สั่งบอม เขาเรียกว่าเอาไดนาไมท์ไปบอมเลย แล้วก็ทำลายทิ้งไปหมดเลย เพื่อทำลายสัญลักษณ์ของการต่อต้านระบอบเผด็จการของเนวิน แต่ในช่วงหลังๆ มานี่ บทบาทของสถาบันการศึกษาหรือ Student Union ของนักศึกษาในพม่า เริ่มมีมากขึ้น แต่ด้วยข้อจำกัดของการที่เขาถูกสั่งปิดมานาน แล้วก็มหาวิทยาลัยอาจจะไม่ใช่ภาพแทนของระบอบประชาธิปไตยทุกอย่าง มันก็เลยทำให้การเรียกร้อง CDM หรือการทำ civil disobedience อหิงสาอะไร หรือขบวนการของเขาในปัจจุบันนี่ มันจึงไม่ได้มีผู้นำ ไม่ได้มีแกนนำร้อยเปอร์เซนต์ คือหลายคนขนาดเอาไปเปรียบเทียบกับฮ่องกงอะไรแบบนี้ แต่เราก็บอกว่าอย่าไปเปรียบเทียบเลยนะ กับฮ่องกง มันออกจะดูเปรียบเทียบยากไปนิดนึง แล้วก็กรณีของฮ่องกงเขาก็ไม่ได้ประสบความสำเร็จถึงขนาดที่ไปท้าทายอำนาจของรัฐจีนได้เต็มที่ขนาดนั้น
สามประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้ง จากซ้าย อู เต็ง เส่ง (2011-2016), อู ถิ่น จ่อ (2016-2018), อู วิน เมี่ยน (2018 – รัฐประหารเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2021)
แต่ว่าสำหรับกรณีพม่าเนี่ย ส่วนตัวเห็นว่ามันสามารถท้าทายองค์รัฏฐาธิปัตย์ในปัจจุบัน ก็คือคณะรัฐประหารได้มากกว่าในอีกหลายๆ ประเทศ มากกว่าในกรณีของไทยด้วย คือหลายคนอาจจะสนใจชอบเปรียบเทียบระหว่างพม่ากับไทยอะไรอย่างนี้ ส่วนตัวเวลาคุยกับอาจารย์ชาญวิทย์นี่ เราก็จะคุยเรื่องเปรียบเทียบกันไปมาระหว่างการเมือง แล้วก็ตัวแปรที่มีบทบาทที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองระหว่างไทยกับพม่าเป็นหลักอยู่แล้วนะคะ แต่เราก็เห็นด้วย แล้วก็ลงความเห็นคล้ายกันว่า ในกรณีของพม่าเนี่ย มันเป็นการชุมนุมประท้วงที่ยืดเยื้อแบบ ไม่ใช่ยืดเยื้อแบบไปยึดสถานที่ นึกออกมั้ยคะ แต่เรื่องของจิตใจ ความเข้มแข็ง ความแข็งแกร่ง ความยึดมั่นถือมั่นว่าฉันจะชนะน่ะ มันอยู่ในจิตใจและจิตวิญญาณของคนพม่าจริงๆ คือถ้าหลายคนยังไม่เคยคุ้นเคยกับคนพม่านะคะ คือส่วนตัวเราคุ้นเคยกับคนพม่าแล้วก็บอกได้เลยว่า จุดเด่นของคนพม่า พม่าแท้นะคะ อันนี้ยังไม่ได้พูดถึงบรรดากลุ่มชาติพันธุ์ฉาน กะฉิ่น ฉิ่น ทั้งหลาย เอาเฉพาะคนพม่าแท้ที่เป็นแกนนำในการประท้วงครั้งนี้เนี่ย เขาเป็นคนที่มีความยึดมั่นถือมั่น หรือถ้าพูดกันภาษาบ้านๆ ก็คือ เป็นคนดื้อในระดับนึงเลย แล้วก็จะมีทิฐิมานะสูงมาก สิ่งนี้เป็นสิ่งที่อังกฤษไม่ชอบเลยในยุคอาณานิคม เราจะสังเกตว่าเวลาอังกฤษเข้ามาจ้างทหารในพม่านี่ เขาจะไม่เคยจ้างคนพม่าแท้เลย เพราะเขารู้สึกว่านี่คือคนดื้อ นี่คือคนที่ไม่เคยฟังคำสั่ง แล้วนี่คือคนที่พยายามที่จะทำการกบฏและปฏิวัติต่อต้านอังกฤษตลอดเวลา แต่ถ้าคุณพูดถึงคนกะเหรี่ยง คนไทยใหญ่อะไรอย่างนี้ โอเค อังกฤษชอบ คือส่วนตัวนี่เรามองว่าความยึดมั่นถือมั่น การเป็นคนดื้อ การเป็นคนที่มีคาแรคเตอร์ที่ เขาเรียกว่า คือ determined มากๆ เลย มันเป็นลักษณะสำคัญจริงๆ ของคนพม่านะ ที่ทำให้ทุกวันนี้ มันจะเข้าสามเดือนแล้วอ่ะ ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์นะคะ แต่ขบวนการต่อสู้อย่างสันติภาพของคนพม่าเนี่ย เรายังไม่เห็นเลยว่าเขาจะพ่ายแพ้ ประชาชนที่เขาออกมาสไตรค์ ไม่ไปทำงาน ข้าราชการที่หยุดงานยอมไม่ให้ราชการจ่ายเงิน ยอมไม่มีเงิน แต่ขอให้แค่ฉันทำสัญลักษณ์ว่าฉันไม่เห็นด้วยกับรัฐประหารครั้งนี้ นะคะ แล้วเราลองนึกดูง่ายๆ นะคะ คือชอบพูดกับอาจารย์ชาญวิทย์ แล้วคือก็อย่างที่พี่สุภลักษณ์ (กาญจนขุนดี) พูดมาว่า จะมีคนถามบ่อยๆ ว่า ระหว่างไทยกับพม่านี่ ใครจะชนะก่อนกัน
คือถ้าเอาหลักฐานเชิงประจักษ์นะคะ พม่าน่าจะชนะก่อน แต่ถ้าเอาเรื่อง feeling เรื่องความรู้สึกของตัวเอง คิดว่าไทยชนะก่อน ของไทยนี่มันอาจจะมีเหตุการณ์ มีบางอย่างที่มันตูมเดียวแล้วก็เปลี่ยนเลย แล้วก็เกิดการเปลี่ยนแปลงแบบหน้ามือเป็นหลังมือเลยก็ได้ แต่การเปลี่ยนแปลงในพม่าที่จะพลิกหน้ามือเป็นหลังมือนี่ โดยส่วนตัวแล้วมองว่า โอกาสเกิดขึ้นค่อนข้างยากค่ะ
พม่ามี “ซ่าหริ่ม” มั้ย?
มีค่ะ ง่ายๆ เลยคือคนที่เป็นนักธุรกิจ มีความร่ำรวย มีเงินทุนของเขานี่ เขาไม่เอาเงินของเขาเก็บไว้ในพม่าแน่ๆ อยู่แล้ว แหล่งใกล้ๆ สุดเลยคือไทย แต่เขาก็ไม่ได้เชื่อมั่นร้อยเปอร์เซนต์นะคะ เขาก็จะไปสิงคโปร์ หรือถ้ารวยจิงจังก็จะไปสวิสเซอร์แลนด์อะไรอย่างนี้ แต่ส่วนตัวนี่ก็เคยไปพม่าในช่วงที่อ่องซาน ซูจีเป็นรัฐบาลมาได้ 2-3 ปี ก็คือสลิ่มทั่วไปแบบวัยอาจารย์ชาญวิทย์นี่แหละ ก็เคยบ่นให้ฟังเหมือนกันว่า บางทีสังคมมันเป็นประชาธิปไตยมากๆ ก็เบื่อเหมือนกันนะ โจรผู้ร้ายก็เยอะขึ้น ค่าครองชีพก็สูงขึ้น การจราจรก็ติดขัดขึ้น ทุกสิ่งทุกอย่างที่เขารู้สึกว่ามันเป็น comfort zone ของเขาในช่วงที่สล์อร์ค เอสพีดีซีปกครองเนี่ย มันเริ่มหายไป แต่ทัศนคติแบบนี้นี่ มันจะไม่เหมือนกับบรรดา Gen Z, Gen Alpha หรือคนหนุ่มสาวอะไรอย่างนี้นะคะ ซึ่งเขาจะมองว่า เขาอยู่ภายใต้ระบอบเผด็จการมาหลายสิบปีแล้ว คือฉันเกิดในยุคเผด็จการ เพราะฉะนั้นฉันไม่สามารถทนอยู่ภายใต้ระบอบนี้อีกต่อไปได้แล้ว เราถึงเห็นว่าคนที่ออกมาชุมนุมประท้วงส่วนใหญ่นี่คือคนหนุ่มสาวที่เห็นว่าระบอบใหม่มันดีกว่ายังไง ไฟมา น้ำก็มา ถนนหนทางดีขึ้น ในขณะที่ระบอบเผด็จการสำหรับเขานี่ คือเขาจะมองว่ามันไม่สามารถเปรียบเทียบกับระบอบประชาธิปไตยได้ แม้ว่าระบอบประชาธิปไตยภายใต้เอ็นแอลดี (NLD – National League for Democracy) มันจะไม่เพอร์เฟค แต่อย่างน้อยประชาชนสามารถตั้งคำถามได้ ใช่มั้ยคะ
แต่สลิ่มพม่าที่เป็นสลิ่มเอ็นแอลดีบางส่วน ขอโทษนะคะ มีสลิ่มหลายประเภทในพม่า ที่เป็นสลิ่มเอ็นแอลดีนี่ แล้วมีเยอะ เขาก็จะบอกว่าอ่องซาน ซูจีไม่เคยทำอะไรผิดเลย คือคนที่เราไม่ควรจะไปแตะต้อง เพราะว่าเป็นคนที่ได้รับการเลือกตั้งเข้ามาอย่างถูกต้อง เป็นคนที่เสียสละเพื่อชาติ ดังนั้นถ้าเราไปตั้งคำถามปุ๊บ เราจะโดนคนพม่าด่ากลับมาค่ะ หาว่าคุณจะมารู้จริงเรื่องประเทศของฉันได้ยังไง โดนบ่อยมาก จนรู้สึกว่าก็แล้วแต่นะ ภาษาพม่าเขาเรียกว่า ตะบอเบ แล้วแต่เธอเลย อะไรอย่างงั้น
