ส่องสื่อโลก
เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2020 หนังสือพิมพ์เดอะแคนซัสซิตี้สตาร์ (The Kansas City Star) ได้แถลงขอโทษต่อประชาชนชาวเมืองแคนซัส โดยเฉพาะต่อคนผิวดำ ที่ได้สร้างประวัติศาสตร์การเหยียดผิวในรายงานข่าวของเดอะแคนซัสซิตี้สตาร์มาอย่างยาวนาน คำขอโทษระบุถึงการที่เดอะแคนซัสซิตี้สตาร์ได้รายงานข่าวที่เป็นการกระทำซึ่งละเลยและจงใจทำร้ายชาวแอฟริกันอเมริกัน บทบรรณาธิการชิ้นนี้ได้กล่าวขอโทษถึงการสืบทอดการแบ่งแยกสีผิวโดยอ้างกฎหมายจิม โครว์ [i] รวมทั้งการกระทำอื่นๆ ที่ส่งผลต่อการสร้างอคติต่อชาวแอฟริกันอเมริกัน
2021-03-18
มุมวิชาการ
สื่อเลือกทำหน้าที่ “คนกลาง” กรณีเลือกตั้งประธานาธิบดีอินโดนีเซีย 2014: สื่อออนไลน์
สื่อออนไลน์เป็นสื่อที่เกิดหลังสิ่งพิมพ์และโทรทัศน์ในวงการอุตสาหกรรมสื่อของอินโดนีเซีย แต่ก็ได้รับความนิยมและมีบทบาทมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ในระหว่างการหาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดี ปี 2014 สื่อออนไลน์วางตัวแตกต่างจากสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อโทรทัศน์อย่างชัดเจน สื่อออนไลน์เลือกที่จะทำหน้าที่เป็นคนกลางระหว่างผู้สมัครสองฝ่าย (Gurevitch and Blumler 1977) เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือในฐานะสื่อใหม่ ตัวอย่างสื่อออนไลน์ที่เลือกมาศึกษาในงานวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ Detik.com และ Suara.com ทั้งสองมีสำนักงานในกรุงจาการ์ต้า
2021-01-17
มุมวิชาการ
สื่อเลือกข้างกรณีเลือกตั้งประธานาธิบดี 2014: สื่อโทรทัศน์
การศึกษาบทบาททางการเมืองของสื่อกระแสหลักของอินโดนีเซียช่วงการเลือกตั้งประธานาธิบดี ปี 2014 นั้น งานวิจัยได้เลือกสถานีโทรทัศน์ในเครือ Bakrie & Brothers เป็นตัวอย่างในการศึกษา ได้แก่สถานี TVOne และ antv โทรทัศน์ในเครือนี้มี อะบูริซาล บาครี เป็นเจ้าของและผู้บริหาร เขาเป็นประธานพรรคกอลคาร์ระหว่างปี 2009 – 2014 และได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานพรรคอีกครั้งในปี 2015 [1] สถานีโทรทัศน์ทั้งสองแห่งให้การสนับสนุนแก่ปราโบโว สุเบียนโต ผู้สมัครจากพรรค Gerindra Party (เขาเป็
2020-12-21
มุมวิชาการ
หลังยุคซูฮาร์โตที่ครองอำนาจยาวนาน 32 ปี (1967-1998) ประเทศอินโดนีเซียเริ่มกระบวนการปฏิรูปการเมืองอย่างจริงจังระหว่างปี 1999-2002 มีการยกเลิกกฎหมายหนังสือพิมพ์ เปิดให้สื่อมวลชนมีเสรีภาพ ในระยะเปลี่ยนผ่านทางการเมืองสภาเป็นผู้เลือกตั้งประธานาธิบดีระหว่างปี 1999-2004 (วาระ 5 ปี) ต่อมา และตั้งแต่ปี 2004 เป็นต้นมาอินโดนีเซียมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรง ประธานาธิบดีสุซิโล บัมบัง ยุทโธโยโน ได้รับเลือกตั้งจากประชาชน ดำรงตำแหน่ง 2 สมัย ระหว่างปี 2004-2009 และ 2009-2014 การเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 2014 เป็นการเลือกตั้งโดยตรงครั้งที่ 3 มีผู้สมัครรับเลือกตั้ง 2 ฝ่ายต่อสู้แข่งขันกัน ฝ่ายหนึ่งเป็นตั
2020-11-25
มุมวิชาการ
ทุกวันนี้ Interpretive journalism หรือวารสารศาสตร์แบบตีความได้รับความนิยมมากจนเป็นแนวโน้มหลักของวารสารศาสตร์ ในงานข่าวปัจจุบัน “ข้อเท็จจริงและการตีความถูกนำมาผสมเข้าด้วยกันอย่างเสรี” (Patterson 1993) นักวารสารศาสตร์กำลังเปลี่ยนสถานะของตนเอง จากผู้ทำหน้าที่ถ่ายทอดเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็น “ผู้สร้างความหมาย” (makers of meanings) (Barnhurst 2003) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านวารสารศาสตร์การเมือง
2020-08-12
มุมวิชาการ
บทความนี้ต้องการชี้ให้เห็นบทบาทของสื่อมวลชนที่แบ่งเป็น 2 ขั้วคู่ขนานไปกับการเมือง 2 ฝ่ายตลอดประวัติศาสตร์การเมืองไทยสมัยใหม่ ขั้วหนึ่งยึดถืออุดมการณ์รอยัลลิสต์ทำหน้าที่ส่งเสริมการเมืองของฝ่ายกษัตริย์นิยม อีกขั้วยึดถืออุดมการณ์รัฐธรรมนูญนิยม ฝ่ายแรกต้องการธำรงสังคมการเมืองแบบเก่าไว้ ในขณะที่ฝ่ายหลังต้องการสังคมรูปแบบใหม่ที่พลเมืองมีความเท่าเทียม มีสิทธิเสรีภาพทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม สองกลุ่มนี้ต่อสู้กันด้วยวิธีการต่างๆ และผ่านสื่อเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับแนวทางการเมืองของกลุ่มตน
2020-07-14
ส่องสื่อโลก
รัตนา ซารุมปาเอ็ต อดีตนักศึกษาสถาปัตย์ ผู้ผันตัวสู่ละครเวทีเพื่อส่งเสียงท้าทายเผด็จการและบอกเล่าความทุกข์ยากของประชาชน
2015-09-04
มุมวิชาการ
ในยุคที่..สื่อเลือกข้าง ผู้บริโภคเสพติด “สื่อการเมือง” ผู้ประกอบการสื่อการเมืองแสวงหาเสียงสนับสนุนทางการเมือง คนทำสื่อที่ยึดความเป็นวิชาชีพตกกระป๋อง เช่นทุกวันนี้..การถ่วงดุลระหว่างผู้ประกอบการและนักวิชาชีพสื่อ กติกา จรรยาบรรณสื่อที่จะสามารถช่วยพัฒนาการเมืองไทยควรเป็นอย่างไร อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ เปิดประเด็น
2012-10-06
มุมวิชาการ
อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ ชวนสำรวจระดับ “สิทธิเสรีภาพ” (สื่อ) ในสังคมไทย พร้อมตั้งคำถามสำคัญ การถดถอยนี้จะนำไปสู่การท้าทายและดิ้นรนหาทางออกแบบไหน
2012-07-13